วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554

อารยธรรมอินคาและชนเผ่ามายา


       
           ชนเผ่าอินคาได้ชื่อว่าเป็นชนเผ่าที่มีอารยธรรมสูงส่ง และเป็นแบบอย่างแก่ชนเผ่าอื่นในแถบอเมริกาใต้ตลอดมา นาน นับพันๆปี ยุคสมัยที่ชนเผ่าอินคาปกครองอาณาจักรอันกว้างใหญ่ไพศาลนั้น นับว่ามีความเจริญรุ่งเรืองมาก ผลงานด้านสถาปัตยกรรม และประติมากรรม ตลอดจนสิ่งก่อสร้างต่างๆที่กลายเป็นแบบอย่างแก่ชนเผ่าอื่นนั้น ทำให้ผู้พบเห็นรู้สึกประหลาดใจมาก เนื่องจากบางแห่ง สร้างอยู่บนเทือกเขาสูงท่ามกลางหุบเหวลึก และป่าดงดิบที่ห่างไกลจากแหล่งอารยธรรม จนยากที่จะเชื่อได้ว่าชาวอินคาในสมัยนั้นทำได้อย่างไร นำเทคโนโลยีสูงส่งมาจากไหน? นับเป็นเรื่องมหัศจรรย์มาก ทั้งๆที่อาณาจักรอินคาส่วนใหญ่อยู่ในเขตที่สูงและมีอากาศร้อนจัด แต่สามารสร้างความเจริญรุ่งเรือง ในด้านต่างๆมากมายและที่เป็นปริศนาลับมาจนกระทั่งบัดนี้ก็คือชนเผ่าอินคาได้ รับมรดกตกทอดทางวัฒนธรรมมาจากชนเผ่าใดและ เพราะเหตุใดผลงานทางสถาปัตยกรรมและประติมากรรมของชนเผ่าอินคาหลายแห่งจึง คล้ายคลึงกับอารยธรรมของ
อง

อาณาจักรอินคาชนเผ่าอินคาอยู่ทวีปอเมริกาใต้ ในเขตเนื้อที่ ส่วนใหญ่ของประเทศเปรูปัจจุบัน มีนครคูซโคเป็นศูนย์กลางเป็นแหล่งอารยธรรมที่เจริญที่สุดนับเป็นเรื่องแปลก มากที่อาณาจักรอินคา ตั้งอยู่ในเขตที่มีลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมการ ดำรงชีวิตอย่างแท้จริง ซึ่งในโลกเรามีดินแดนที่เหมาะสมเช่นนี้เพียงสองสามแห่งเท่านั้น ในปลายศตวรรษที่ 5 อาณาจักรอินคา ได้ครอบคลุมพื้นที่ถึง 1,950,000 ตารางกิโลเมตร อารยธรรมสูงส่งของชาวอินคาที่เป็นแบบอย่างแก่ชนเผ่าแถบอเมริกาใต้มานานนับ พันๆปีที่โดดเด่นมากคือรูปแบบการจัดระเบียบทางสังคมที่ทำให้ประชากรนับ ตั้งแต่ระดับสูงสสุดขั้นจักรพรรดิลงมาจนถึงชาวไร่ชาวนา ได้ทำงานตามบทบาทตำแหน่งหน้าที หรือสถานภาพอย่างมีประสิทธิภาพและมีอิสระเสรี และความเจริญรุ่งเรืองของชาวอินคายังรวมไปถึง ทางด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม วิศวกรรมโยธา ระบบชลประทานอีกด้วย



ที่น่าประหลาดใจอย่างยิ่งก็คือ ชนเผ่าอินคามีช่างฝีมือเป็นจำนวนมากที่มีบทบาทต่ออารยธรรมที่เจริญ รุ่งเรืองต่อเนื่องกันไปไม่หยุดยั้ง อาทิ ช่างทอผ้า ช่างปั้นหม้อ ช่างโลหะ ช่างเหล็ก วิศวกร ประติมากร สถาปนิก ซึ่งได้ร่วมกันผลิตผลิตภัณฑ์ ต่างๆด้วยทองคำและเงิน รวมทั้งได้ก่อสร้างออกแบบตกแต่งพระราชวัง วิหาร และปราสาทต่างๆอย่างวิจิตรตระการตา


ประชาชนชาวอินคาทั้งมวลต่างยกย่องพระอาทิตย์เป็นเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่เป็นที่ ประจักษ์ทั่วไปว่าชาวอินคามักจะบูชาพระอาทิตย์ ขณะเดินทางบนที่สูงช่วงเวลากลางคืน ชาวอินคาเชื่อว่าลมปิศาจซึ่งเป็นลมที่หนาวเหน็บถึงกระดูกพัดลงมาตามแนวเทือก เขาแอนดิส ในช่วงเวลากลางคืนหลังพระอาทิตย์ตกและมักจะพัดผ่านใต้พื้นโลกตลอดเวลา

ชนเผ่ามายา
ชาว มายา ผู้อาศัยอยู่ในดินแดนยูคาทาน ในเม็กซิโกและกัวเตมาลาในราวศตวรรษที่ 3-16 ก่อนคริสตกาล นับเป็นอีกชนชาติหนึ่งที่มีความก้าวหน้าล้ำยุคจนนักวิชาการต่างๆ พากันส่ายหน้าปวดหัวด้วยความแปลกใจเป็นอันมาก  กล่าวคือ ชาวมายามีความเป็นเลิศทางด้านการคำนวณและดาราศาสตร์

สิ่งที่ชาวมายาคิดค้นได้ก็คือ ปฏิทินและการคำนวณบางประการที่ไม่น่าเชื่อว่า ชนเผ่าโบราณอันลึกลับนี้ จะสามารถทำได้โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์สมัยใหม่อย่าพวกเราเข้าไปช่วยแม้แต่น้อย ปฏิทินของชาวมายาใช้ในระยะวงโคจร 5000 ปี และวงโคจรที่ใกล้กับปัจจุบันมากที่สุด จะจบลงในวันที่ 24 ธันวาคม ปี พ.ศ.2554 (ซึ่งตามความเชื่อของชาวมายาก็คือ พระเจ้า ของพวกเขาจะเสด็จกลับลงมายังโลกนี้อีกครั้ง ก่อนพูดถึงเรื่องอื่นต่อไป อยากให้ทุกคนทำความเข้าใจกับระบบตัวเลขและแนวคิดของชาวมายากันนิดนึงก่อน เริ่มกันที่เลข 20 อันเป็นเลขที่ชาวมายาเค้าถือกันว่าเป็นเลขศักดิ์สิทธิ์ คนโบราณพวกนี้มีแนวคิดทางตัวเลขที่น่าสนใจมาก กล่าวคือ มนุษย์ในปัจจุบันนิยมใช้เลขฐานสิบเป็นหลัก โดยยืนพื้นอยู่บนนิ้วมือทั้งสิบ แต่ชาวมายากลับแตกต่างกันไปเพราะพวกเขารวมนิ้วเท้าอีกสิบเข้าไปด้วยเป็นเลข ฐาน 20 พอดิบพอดี ลองมาดูสัญลักษณ์ของชาวมายาที่นับจาก 0-20 กันดีไหม? เลขศูนย์ถูกแทนด้วยสัญลักษณ์วงกลม เลขหนึ่งด้วยหนึ่งจุด เลขสองแทนด้วยจุดตามแนวนอน เลขสามด้วยจุดสามจุด เลขห้าแทนด้วยเส้นแนวขวาง เลขหกแทนด้วยจุดหนึ่งจุดเหนือเส้นแนวขวางและเป็นแบบนั้นไปตามลำดับ เลขสิบเก้าแทนด้วยจุดสี่เหลี่ยมเหนือเส้นแนวขวางสามเส้นที่ซ้อนกันขึ้นไป เลขยี่สิบแทนด้วยสัญลักษณ์คล้ายวงกลมที่มีจุดจุดหนึ่งอยู่ด้านบน ดังภาพ



ความสัมพันธ์อีกประการของปฏิทินของชาวมายาก็คือ หนึ่งอุยนัลหรือเดือนของพวกเขามีอยู่ 20 คิน หรือ 20วัน

อาณาจักรมายาเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่มาแต่ครั้งโบราณ ปัจจุบันอยู่ในพื้นที่ประเทศกัวเตมาลา ครั้งหนึ่งอาณาจักรนี้เคยคึกคักรุ่งเรืองเป็นที่สุด เมืองใหญ่ๆเช่น ติกัลหรือพาเลงกอมีประชากรร่วมแสน เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้เรื่องคณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ และเป็นเมืองที่มีอิทธิพลทางการค้าเป็นอย่างมาก แต่ด้วยเหตุผลกลใดหาใครทราบ เมืองยุคแรกของชาวมายาเช่นติกัลก็ได้เริ่มเสื่อมสลายทีละน้อยในช่วง ค.ศ. 200-900 นักโบราณคดีรู้สึก ประหลาดใจมากกับหลักฐานที่ว่า ด้วยเหตุผลบางประการชาวมายาได้ละทิ้งเมืองอันรุ่งเรืองของพวกเขาในช่วงเวลา นั้น หยุดชะงักอารยธรรมที่กำลังเติบโตทั้งหลายทั้งมวลคล้ายๆกับว่าจู่ๆพวกเขาหมด กำลังใจในชีวิตกันไปแล้ว

บางคนอาจนึกถึงการเข้ามาของชาวยุโรปว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้อารยธรรมมายาล่มสลาย ไป มันไม่ใช่อย่างนั้นน่ะ เพราะชาวยุโรปเข้ามายังโลกใหม่เมื่อราวๆศตวรรษที่ 17 ตอนนั้นอารยธรรมมายาเสื่อมสลายลงเกือบหมดแล้วเหลือเพียงชนพื้นเมืองกลุ่ม เล็กๆ กระจัดกระจายอยู่ทั่วคาบสมุทรยูคาทานกับเม็กซิโกตอนใต้เท่านั้น

มีอะไรบางอย่างที่ทำให้ชาวมายาหยุดความก้าวหน้าทางอารยธรรมลง เหมือนชนชาติที่เสียแรงกระตุ้น เพราะจู่ๆพวกเขาก็หยุดชะงักเอาเฉยๆหลังจากรุ่งเรืองด้วยอารยธรรมอันน่าพิศวง สุดขีดมาหลายศตวรรษ อะไรที่ทำให้พวกเขาเป็นแบบนั้น?
เนื่องจากเป็นเคสที่น่าสนใจจึงมีทฤษฎีว่าด้วยการล่มสลายของอารยธรรมมายาขึ้นมา เพียบ นักวิชาการบางคนเชื่อว่าเกิดจากการที่ทาสกับประชาชนลุกขึ้นมาโค่นล้มชนชั้น ปกครองผู้เผด็จการ แต่ไม่น่าเป็นไปได้ครับ เพราะอารยธรรมที่รุ่งเรืองขนาดนั้น สังคมที่แข็งแกร่งขนาดนั้นไม่น่าจะมาพังพาบง่ายๆกับอีเรื่องไม่เป็นเรื่อง แค่นี้ แถมไม่มีหลักฐานอะไรชี้ชัดเอาเสียเลยว่ามีการแข็งข้อแข็งเมืองเกิดขึ้นใน นครรัฐของชาวมายา การจะเข้าใจอารยธรรมมายาได้อย่างถ่องแถ้นั้นเราต้องเอาใจเราเข้าไปจับใจของ ชาวมายาเสียก่อน
เลิกคิดแบบมนุษย์ปัจจุบัน เลิกยึดติดกับความรุ่งเรืองทางวัตถุแบบ อารยธรรมตะวันตก

ในสายตาของมนุษย์สมัยใหม่ชาวมายาไม่ได้ต่างอะไรไปเลยจากมนุษย์ถ้ำสมัยหิน ไม่มีอะไรมากไปกว่าการสร้างปิระมิดด้วยศิลาอย่างไร้เหตุผล ไม่มีเทคโนโลยีด้านสกัดแร่หรือถลุงโลหะ ไม่มีอาวุธมากกว่ามีดและหอก

นักวิชาการหลายคนมองชาวมายาเป็นอัจฉริยะผู้ไร้สติ คือทั้งๆที่พวกเขาวชาญด้านคณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ และสถาปัตยกรรมอันไร้เทียมทานแต่กลับไม่ได้นำมาสร้างสรรค์หรือแผ่ขยายอารยธรรมแต่ประการใดเลย

นักวิชาการไม่สามารถอธิบายได้ว่าทำไมอารยธรรมที่ฟันฝ่าอุปสรรคมาจนรุ่งเรืองได้ ขนาดนั้นจู่ๆกลับเสื่อมสลายลง อัจฉริยะทางดาราศาสตร์และคณิตศาสตร์ชาวมายาหายหัวไปไหนหมด

พวกเขาส่งผ่านมรดกอะไรให้แก่ชนรุ่นหลังบ้าง ทำไมจึงทิ้งเมืองใหญ่อันโอฬารอย่าง ติกัล อักซมัล พาเลงกอ และชิตเซนอิซาเอาไว้ หลงเหลือแต่เพียงซากปรักหักพังอยู่กลางป่าดงดิบในกัวเตมาลา แล้วก็วาดภาพแกะสลัก ทำเส้นสายด้วยรหัสภาษาที่ไม่มีใครอ่านออกเอาไว้ ทิ้งให้นักโบราณคดีรุ่นหลังตีอกชกหัวกุมขมับปิ้มจะบ้าทำไม...

เราคงตอบคำถามนี้ไม่ได้ตราบใดที่ไม่ขจัดปัญหาบางประการออกไปเสียก่อน ปัญหาที่ว่านี้ไม่ได้อยู่ที่ชาวมายา แต่อยู่ที่ทฤษฎีของพวกเรา อยู่ที่วิธีวัดความสำเร็จที่มนุษย์ปัจจุบันใช้กับชาวมายานั่นแหละ หลายศตวรรษที่ผ่านมาจนถึทุกวันนี้

พวกเราวัดความรุ่งเรืองทางอารยธรรมของมนุษยชาติด้วยไม้บรรทัดที่ถือมาตั้งแต่ สมัยเรเนอซองส์ ทุกอย่างตั้งอยู่บนพื้นฐานของเทคโนโลยีทางวัตถุ นวัตกรรมใหม่ๆอันจะนำเอาความเจริญทางวัตถุมาให้มนุษย์

ตั้งแต่ยุคเครื่องจักรไอน้ำจนถึงกระสวยอวกาศ ตั้งแต่ยุคหัวธนูจนถึงขีปนาวุธนิวเคลียร์ ตั้งแต่ยุคหลอดสูญญากาศจนถึงซิลิกอนชิป ชาวมายาล้าหลังจริงๆหากจะมองในแง่นั้น ทฤษฎีต่อไปนี้อาจจะบ้าหลุดโลกสำหรับพวกคุณ แต่ปฏิทินของชาวมายาเป็นตัวอย่างที่ดีที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่าง เวลาและตัวเลข ภาพด้านล่างเป็นตัวแทนวันในแต่ละเดือนของพวกเขา ซึ่งในบางครั้งจะถูกผนวกเข้ากับสัญลักษณ์ที่เรียกว่าโซลคินอันเป็นแกนตัวเลข 13 ตัว ถูกออกแบบให้อยู่ในลักษณะของแกนสอดประสาน เพื่อให้ได้มาซึ่งการประสานกันระหว่างจิตใจและแกแล็คซี่


แกนตัวเลขสอดประสานเพื่อให้ได้มาซึ่งการสอดประสานกันของแกแล็คซี่ นักวิชาการน้อยคนนักที่จะเข้าใจเรื่องนี้ และผู้ที่เข้าใจก็ยากที่จะทำใจรับมันได้เนื่องจากค่อนข้างหลุดโลกเอาการอยู่

แนวคิดนี้ขัดแย้งกับทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของ ปรากฏการณ์ทางกายภาพ ที่นักโบราณคดีงงเป็นไก่ตาแตกกับอารยธรรมมายาเนื่องจากว่าพวกเขายากที่จะทำ ใจมองข้ามแนวคิดแบบวิทยาศาสตร์

หันไปมองแนวคิดทางจิตใจแบบชาวมายาได้ เพราะการมองแต่หลักฐานทางวัตถุนี่แหละ จึงทำให้นักโบราณคดีหลายคนไม่สามารถหาคำตอบได้ว่า ทำไมชาวมายาจึงพัฒนานครรัฐได้อย่างยิ่งใหญ่ สร้างสถาปัตยกรรมโอฬาริกได้มากมาย แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าพวกเขาจะประยุกต์นำความรู้นี้ไปใช้ และพัฒนาอารยธรรมของพวกเขาไปในรูปแบบอารยธรรมของชาวตะวันตกอย่างที่ควรจะทำ เช่น การยกระดับความเป็นอยู่ พัฒนาเรื่องการขนส่ง การสื่อสาร อาวุธยุทโธปกรณ์

ซึ่งแน่นอนว่า ด้วยความก้าวหน้าขนาดคำนวณปฏิทินได้เป็นล้านๆปี รอบรู้เรื่องวงโคจรของดาวพระเคราะห์ต่างๆจนถึงขั้นคำนวณปฏิทินของดาวศุกร์ และดวงจันทร์ได้อย่างชาวมายานั้น การจะสร้างอารยธรรมให้ก้าวทันปัจจุบันเห็นจะไม่ใช่เรื่องยาก เพียงกินเวลาไม่กี่ร้อยปีเท่านั้นดีไม่ดีชาวมายาอาจครองยุโรปและเอเชีย จนถึงขั้นมีนครรัฐมายาแทนสหรัฐอเมริกาจอมเกเรอย่างทุกวันนี้ก็เป็นได้ เป็นไปได้ลองย้อนดูอารยธรรมของเราสิ เมื่อ 400 ปีก่อนเรามีเทคโนโลยีทางการแพทย์ เทคโนโลยีการสื่อสารแค่ขี้ปะติ๋วเท่านั้น แล้วดูตอนนี้สิ สี่ศตวรรษหรือหนึ่งแบ็กทันต่อมา เราพัฒนามาถึงไหนกันแล้วครับ เมื่อร้อยปีก่อนเรายังเคาะโทรเลขก๊อกแก๊กกันอยู่ แต่ตอนนี้เราถึงขั้นสื่อสารแบบไร้สายได้มีโอกาสมา "เธอวางก่อนดิ... ดิ ดิ ดิ..." อย่างง่ายๆราวปาฏิหารย์

พวกเราสามารถสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกในรอบ 100 ปีได้มากกว่าที่เคยทำได้ในรอบ 1000 ปีเสียด้วยซ้ำ แล้วชาวมายาล่ะครับเขาทำอะไร เขาไม่ได้ทำอะไรกับความรู้อันสูงส่งของพวกเขาเลยแม้แต่น้อย

พวกเขาเป็นต้นแบบของนักการเมืองไทยในการถอยหลังลงคลอง ชาวมายาย้อนกลับไปสู่สังคมแบบพริมิทีฟเอามากๆ โดยเฉพาะตั้งแต่ประมาณ ค.ศ.83 ชาวมายาก็ได้เจริญลงๆ จนกระทั่งถึง ค.ศ. 900 หรือสิ้นสุดแบ็กทันที่ 10  อารยธรรมอันมหัศจรรย์สมชื่อมายานี้ก็ได้ถึงการเสื่อมสลายลงอย่างสมบูรณ์ คิดแล้วก็น่าเศร้า? แบ็กทันคืออะไรอย่างนั้น?

แบ็กทันเป็นมาตรวัดเวลาของชาวมายา กินเวลาราว 395 ปีของมนุษย์ปัจจุบัน แนวคิดนี้ค่อนข้างซับซ้อนแต่เชื่อว่าชาว Myth น่าจะทำความเข้าใจได้ไม่ยากเท่าไหร่

แนวคิดนี้มีอยู่ว่า ชาวมายามีวัตถุประสงค์ในการอยู่บนโลกที่แตกต่างออกไปพูด ง่ายๆคือมีหลักฐานมากพอที่จะชี้ให้เห็นว่าชาวมายามีหน้าที่วางตำแหน่งโลกและ ระบบสุริยะ ให้สอดคล้องกับประชาคมแกแล็กซี่ที่ใหญ่กว่า โดยได้รับบัญชาจากเทพเจ้าของพวกเขาซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นนักบินอวกาศ แห่งโบราณยุค พูดง่ายๆก็คืออาคันตุกะจากดาวดวงอื่นนั่นล่ะ

ภารกิจหลักของชาวมายามีอะไรบ้างนั้นพวกเรายังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัด เดาได้เพียงแต่ว่าเมื่อถึงประมาณ ค.ศ.830 หรือสิ้นสุดแบ็กทันที่เก้าชาวมายาก็ได้จากไป บางคนยังหลงเหลือทายาทไว้ที่นี่ในฐานะผู้พิทักษ์หรือการ์เดี้ยน  ทิ้งรหัสของพวกเขาเอาไว้อันได้แก่โซลคินแกนตัวเลขประสานของชาวมายาเพื่อให้ได้มาซึ่งการสอดประสานแห่งห้วงจักรวาล


เนื่องจากนี่เป็นเพียงข้อสมมติฐานของนักเขียนบางคนเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องเชื่อตามนะ อันว่าสิ่งที่ชาวมายาทิ้งไว้นั้นเป็นเรื่องท้าทายวงการวิทยาศาสตร์อย่างหนัก เราจำเป็นต้องวางแนวคิดยึดติดวัตถุในรูปแบบเดิมเอาไว้เสียก่อน แล้วลองมามองจักรวาลอย่างที่ชาวมายาเขามองกัน ยกตัวอย่างปฏิทินของชาวมายากันสักเล็กน้อย เช่นเดียวกับพวกเราครับ ชาวมายาวัดขนาดของเวลาจากเล็กไปสู่ใหญ่ จากวินาทีเป็นนาที ชั่วโมง วัน เดือน ฯลฯ อารยธรรมตะวันตกวัดเวลาตามปฏิทินเกรเกอเรียนซึ่งกินเวลา 365 วัน/ปี อันเป็นคาบเวลาที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ ถัดจากปีเราก็มายืนอยู่บนเลขฐาน 10 นั่นคือ 10 ปีต่อ 1 ทศวรรษ, 10 ทศวรรษต่อ 1 ศตวรรษ, 10 ศตวรรษต่อ 1 สหัสวรรษ บลา บลา บลา...
แต่ปฏิทินของชาวมายานั้นแตกต่างออกไปเพราะตั้งอยู่บนค่าของเลข 20 เป็นหลัก 1 คินจะแทนค่าแทน 1 วัน นับตามแบบของเราคือโลกหมุนรอบตัวเองครบ 1 รอบ อุยนัลแทนค่า 1 เดือนประกอบด้วย 20 คิน
ส่วนปีของมายาแทนด้วนทันอันประกอบด้วย 18 อุยนัลหรือ 360 คิน(ใกล้เคียงกับ 365 วันของพวกเรามากทีเดียว) 1 คาทันของชาวมายาเทียบได้กับทศวรรษของพวกเราเพียงแต่ยาวกว่า 2 เท่า เพราะระบบเลขของพวกเขาคือฐาน 20
ดังนั้น 1 คาทันจะมีความยาวประมาณ 19.5 ปี สำหรับ 1 แบ็กทันจะยาว 20 คาทันหรือประมาณ 394.5 ปี
จุดเริ่มการสร้างสรรค์ของชาวมายาตามบันทึกของพวกเขาซึ่งบันทึกเวลาได้เที่ยงตรงมากนั้นจะอยู่ประมาณ 3116
ปีก่อน ค.ศ. วงจรนี้จะกินเวลา 13 แบ็กทันของพวกเขาหรือ 5129 ปีของพวกเรา แบ็กทันที่เก้าสิ้นสุดลงราวปี ค.ศ. 830
ดัง นั้นจุดสิ้นสุดของแบ็กทันที่ 13 จึงน่าจะอยู่ที่ ค.ศ. 2012 โดยประมาณ ทีนี้ก็มาถึงประเด็นสำคัญล่ะว่า หนึ่งวงจรของชาวมายานั้นมีความสำคัญอย่างไร
และนี่คือปฏิทินเทียบระหว่างปฏิทินของเรากับวงจรของชาวมายา รอบแบ็กทัน ปฏิทินมายา ปฏิทินเกรเกอเรียน เหตุการณ์สำคัญ
1 1.0.0.0.0 3116-2734 BC จุดเริ่มต้น
2 2.0.0.0.0 2734-2339 BC ยุคปิระมิด
3 3.0.0.0.0 2339-1944 BC ยุคล้อ
4 4.0.0.0.0 1944-1550 BC อารยธรรมอียิปต์
5 5.0.0.0.0 1550-1155 BC อารยธรรมบ้านเชียง
6 6.0.0.0.0 1155 - 761 BC สงครามม้า
7 7.0.0.0.0 761-366 BC ยุคปรัชญา
8 8.0.0.0.0 366 BC - ค.ศ. 28 ยุคเมสไซอาห์
9 9.0.0.0.0 ค.ศ. 28-422 อาณาจักรโรมัน
10 10.0.0.0.0 ค.ศ. 422-817 มายา
11 11.0.0.0.0 ค.ศ. 817-1211 สงครามครูเสด
12 12.0.0.0.0 ค.ศ. 1211-1606 ยุคล่าอาณานิคม
13 13.0.0.0.0 ค.ศ. 1606-2012~ ยุคอุตสาหกรรมใหม่
... เป็นอันว่าเราเกือบครบรอบวงจรใหญ่ของชาวมายากันแล้ว โดยนับจากแบ็กทันแรกถึงแบ็กทันที่สิบสามตามเวลาปฏิทินของมนุษย์ยุคใหม่เรา  ส่วนการอ่านปฏิทินตัวเลขของชาวมายานั้นให้อ่านแบบนี้ครับ ดูตัวเลขที่เรียกลำดับกัน 5 กลุ่ม แต่ละกลุ่มนั้นจะแทนช่วงลำดับเวลา ตามนี้
แบ็กทัน, คาทัน, ทัน, อุยนัล, คิน
คิน = 1 วัน
อุยนัล = 20 คิน
ทัน = 360 คิน
คาทัน = 20 ทัน (7200 คิน)
แบ็กทัน = 20 คาทัน (144000 คิน)
จากนั้นก็คูณตัวเลขในแต่ละช่วงเวลาออกมาเพื่อให้ได้จำนวนวันจริงๆ
แล้ว เอาจำนวนวันจริงๆไปบวกจุดอ้างอิงของเราคือ 3116 BC. เราก็จะได้วันที่ตามปฏิทินสากลของเราแบบเท่ากันทุกประการ เป็นทฤษฎีที่หลุดโลกมาเลยใช่ไหมล่ะ ในข้อที่ว่าบรรพบุรุษของชาวมายาได้เดินทางจากห้วงอวกาศอันไกลโพ้นมาเยือนโลก พิภพของเรา เพื่อภารกิจในการสอดประสานระหว่างโลกมนุษย์กับแกแล็กซี่อื่น คุณอาจจะกำลังบริภาษอยู่ในใจว่าบ้าไปแล้วแน่ๆ
มีหลักฐานหรือเปล่าว่าชาวมายาเดินทางมาจากดาวเคราะห์ดวงอื่น พวกเขามาที่โลกของเราได้ยังไง นั่งเรือมาเรอะ?
หลักฐานการเดินทางล่ะมีไหม เอาล่ะ มีคำอยู่สองคำที่คุณต้องทำความรู้จักเอาไว้เสีย นั่นคือคำว่า ฮูแน็บ คู กับ คูซาน ซูอัม
คำว่าฮูแน็บ คู หมายถึงผู้ให้การเคลื่อนไหวและมาตรวัดเดียว เป็นเทพผู้ยิ่งใหญ่ที่ดำรงอยู่เหนือดวงอาทิตย์ เหนือแกนแกแล็กซี่ที่เป็นจุดกำเนิดของทุกสิ่งทุกอย่าง
ส่วนคำหลังคือ คูซาน คูอัม ถนนสู่ท้องฟ้าที่นำไปสู่แกนแกแล็กซี่หรือฮูแน็บ คู ส่วนที่ตั้งของ ฮูแน็บ คู
ตามแผนที่ดาราศาสตร์ปัจจุบันคือจุดระหว่างดาวฤกษ์สองดวงในกลุ่มดาวเซ็นทอร์ใต้ มีระห่างจากโลกของเรา 139 ปีแสง จุดเชื่อมระหว่างโลกและดาวอันไกลโพ้นของชาวมายาดวงนี้ก็คือ คูซาน ซูอัม นั่นเอง
เพ่งรูปนี้กันดีๆ ปากาล โวทาน ผู้นำชาวมายาผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา  อาณาจักรมายาคลาสสิคมีความรุ่งเรืองถึงขีดสุดในยุคการปกครองของเขา

ปา กาล ตายในปี ค.ศ. 683 ภาพนี้คัดลอกมาจากภาพนูนแกะสลักบนฝาหินของเขาที่พบใน ค.ศ. 1952 ในอุโมงค์ฝังศพที่ตบแต่งไว้อย่างสวยงาม ในวิหารแห่งคำจารึก (Temple of inscriptions) ที่พาเลงกอในเชียพัส ประเทศเม็กซิโก นักคิดนักเขียนบางคนเรียกปากาลว่าผู้แทนแห่งแกแล็กซี่ ผู้อาศัยคูซาน ซูอัม เพื่อไปถึง ฮูแน็บ คู หลังจากที่ภารกิจของเขาลุล่วงไปแล้ว

ทีนี้ก็มาถึงประเด็นสำคัญอีกประเด็นว่าทำไมถึงเป็นชาวมายา ไม่ใช่อียิปต์ อินคา หรือ สุเมเรียนที่เป็นอารยชนที่ยิ่งใหญ่พอๆกัน บอกได้เพียงแต่ชาวมายาก็มีอิทธิพลไม่น้อยในอารยธรรมอื่นๆ ยกตัวอย่างเช่น คำว่ามายาเป็นคำศาสนาฮินดูหมายถึงต้นกำเนิดของจักรวาล

ในภาษาสันสกฤตเป็นคำที่เกี่ยวโยงกับสภาพจิตใจ เวทย์มนตร์คาถาและแม่  แม้ แต่พระมารดาของพระพุทธองค์เองก็มีนามว่าสิริมหามายา ในภาษา อียิปต์คำว่ามาเย็ตหมายถึงระเบียบของจักรวาล ส่วนในตำนานกรีกดาวที่ส่องสว่างที่สุดในกลุ่มดาวลูกไก่และเป็นน้องคนสุดท้อง ก็มีนามว่ามายาขนิษฐาของเฮดีส
http://www.banprak-nfe.com/webboard/index.php?topic=1073.0

1 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณกับข้อมูลดีๆ เข้าใจอินคามากขึ้น เข้าใจได้ว่าอารยธรรมความรู้ของชาวอินคาเจริญพัฒนาขึ้นมาเองโดยไม่ได้รับอารยธรรมจากภายนอกใดๆเข้ามา เนื่องจากเหมือนเป็นสังคมปิดเมื่อเกิดการขัดแย้งภายในจึงเกิดการล่มสลายอย่างรวดเร็ว

    ตอบลบ